หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory – ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
1.2) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory – RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
2) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
2.1) แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน Disk ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควรซึ่งเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักๆ เลยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์
2.2) แบบแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอย และเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD
2.3) แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
2.4) แบบอื่นๆ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบพกพา
วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
อุปกรณ์คอมพิวเตอรืในส่วนของ output
อุปกรณ์คอมพิวเตอรืในส่วนของ output
อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ( Output Device ) เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจะมีทั้งข้อมูลตัวอักษร, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ( Display device ) เป็นอุปกรณ์สำหรับการแสดงผลในรูปแบบกราฟิกและผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อไฟดับหรือปิดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลงไปจะไม่สามารถเห็นได้อีก บางครั้งนิยมเรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า soft copy นั่นเอง เช่น
เทอร์มินอล ( Terminal ) มักพบเห็นได้กับจุดบริการขาย ( POS-Point Of Sale ) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือจุดให้บริการลูกค้าเพื่อทำรายการบางประเภท เช่น ตู้รายการฝากถอน ATM อัตโนมัติ จอภาพของเทอร์มินอลจะมีขนาดเล็กกว่าจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์
จอซีอาร์ที ( CRT Monitor ) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี การทำงานจะอาศัยหลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าหลอดรังสีคาโธด ( cathode ray tube ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับหลอดภาพของโทรทัศน์ และตัวจอภาพก็มีลักษณะเหมือนกับจอภาพของโทรทัศน์ มีหลายขนาดตั้งแต่ 14,15,16,17,19,20 และ 21 นิ้ว เป็นต้น (แนวโน้มการใช้งานปัจจุบันจะเลือกใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานได้ดีกว่าจอภาพขนาดเล็ก โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้พื้นที่สำหรับทำงานบนจอภาพมาก ๆ เช่น การสร้างภาพกราฟิกหรือการออกแบบงาน 3 มิติ เป็นต้น)
จอแอลซีดี ( LCD Monitor ) เป็นอุปกรณ์แสดงผลอีกแบบหนึ่ง อาศัยการทำงานของโมเลกุลชนิดพิเศษเรียกว่า “ ผลึกเหลว” หรือ liquid crystal ในการแสดงผล (LCD = Liquid Crystal Display ) ซึ่งเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังแต่ละจุดบนจอ ผลึกเหลว ณ จุดนั้นจะมีการบิดตัวของโมเลกุลเป็นองศาที่แตกต่างกัน ทำให้แสงที่ส่องจากด้านหลังจอผ่านได้มากน้อยต่างกัน และเกิดภาพสีต่าง ๆ ขึ้น แต่เดิมนิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ค ปัจจุบันได้นำมาใช้กับเครื่องพีซีทั่วไปบ้างแล้ว เนื่องจากมีขนาดบาง เบาและสะดวกในการเคลื่อนย้ายมากกว่า อีกทั้งยังไม่เปลืองพื้นที่สำหรับการทำงานด้วย แต่ปัจจุบันยังมีราคาที่แพงกว่าจอแบบซีอาร์ทีพอสมควร
โปรเจคเตอร์ ( Projector ) นิยมใช้สำหรับการจัดประชุม สัมมนา หรือการนำเสนอผลงาน ( presentation ) ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมจำนวนมากได้เห็นข้อมูลภาพกราฟิกต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เป็นเหมือนอุปกรณ์ช่วยขยายภาพขนาดเล็กจากจอภาพธรรมดาให้ไปแสดงผลลัพธ์เป็นภาพขนาดใหญ่ที่บริเวณฉากรับภาพ
2. อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน ( Print Device )
เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่แสดงออกมาให้อยู่ในรูปแบบข้อมูล รายงาน รูปภาพ หรือแผนที่ซึ่งสามารถจับต้องหรือเก็บรักษาไว้ได้อย่างถาวร นิยมเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ Hard copy อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการพิมพ์งานมีดังนี้
เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์( Dot matrix Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในองค์กรธุรกิจทั่วไป เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำงานพิมพ์โดยอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ผ้าหมึก( ribbon ) และตัวกระดาษโดยตรงจึงเหมาะสมกับการพิมพ์เอกสารประเภทใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบส่งของ หรือรายการสั่งซื้อที่จำเป็นต้องมีสำเนาเอกสาร(copy ) เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางการบัญชี นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องพิมพ์แบบกระทบ(impact printer ) แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการทำงานที่เป็นสี นอกจากนี้คุณภาพของงาน ความคมชัด และความเร็วยังต่ำกว่าเครื่องพิมพ์แบบอื่นๆ จึงมีความนิยมใช้ลดลง ถึงแม้มีราคาไม่สูงนักก็ตาม
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์( Laser Printer ) ผลลัพธ์ที่ได้จากการพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ซึ่งอาศัยหัวพิมพ์กระทบลงไปในกระดาษเหมือหลักการของเครื่องพิมพ์ดีดนั้น ทำให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ไม่ชัดเจน จึงนิยมใช้เครื่องพิมพ์ประเภทเลเซอร์เข้ามาแทนเนื่องจากมีความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบนี้อาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ฉายลงไปยังหลอดสร้าง( drum ) ภาพที่ได้รับการกระตุ้นของแสง แล้วฉีดผงหมึกเข้าไปยังบริเวณที่มีประจุอยู่(ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารนั่นเอง) จากนั้นให้กระดาษวิ่งมารับผงหมึก แล้วไปผ่านความร้อนเพื่อให้ภาพติดแน่น ข้อดีคือภาพที่ได้มีความละเอียดสูงมาก และความเร็วก็สูง แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนา (copy ) เหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ได้ นอกจากนี้ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องพิมพ์งานสีได้แล้ว โดยใช้ผงหมึก 4 สีผสมกัน ซึ่งราคาเครื่องเริ่มลดลงมากแล้ว แต่ผงหมึกก็ยังแพงอยู่
เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต ( Ink-jet Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีการทำงานโดยอาศัยน้ำหมึกพ่นลงไปบนกระดาษตรงจุดที่ต้องการ และสามารถเลือกใช้ได้ทั้งหมึกสีและขาวดำ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกอาจมีทั้งแบบราคาถูกที่ใช้งานตามบ้านทั่วไปสำหรับพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฏิทิน หรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ หรืออาจพบเห็นได้กับเครื่องพิมพ์ในบางรุ่นที่นิยมใช้กันในงานธุรกิจ เช่น งานพิมพ์โปสเตอร์หรือภาพสีขนาดใหญ่ แต่ก็มีราคาที่แพงตามไปด้วย
พลอตเตอร์ ( Plotter ) เป็นเครื่องพิมพ์เพื่อแสดงผลลัพธ์อีกประเภทหนึ่ง มักใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากและไม่สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องขนาดเล็กได้ การทำงานใช้กลไกบังคับปากกาให้ขีดลงบนกระดาษโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ภาพโฆษณา แผนที่ แผนผัง แบบแปลน เป็นต้น อย่างไรก็ดีอาจพบเห็นเครื่องพลอตเตอร์นี้ค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตได้เข้ามาแทนที่เกือบหมดแล้ว
3. อุปกรณ์ขับเสียง ( Audio Device )
ลำโพง ( Speaker ) ข้อมูลที่เป็นแบบเสียงจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ไปยังจอภาพของคอมพิวเตอร์ได้ แต่จะอาศัยอุปกรณ์แสดงผลเฉพาะที่เรียกว่า ลำโพง ( speaker ) เพื่อช่วยขับเสียงออก ปัจจุบันมีราคาถูกมากตั้งแต่ร้อยกว่าบาทจนถึงหลักพัน นิยมใช้สำหรับการแสดงผลในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน
หูฟัง ( Headphone ) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับฟังข้อมูลประเภทเสียงเช่นเดียวกัน นิยมใช้สำหรับการฟังเสียง เช่น ฟังเพลง หรือเสียงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นแบบส่วนตัว ในบางรุ่นอาจพบได้ทั้งหูฟังและไมโครโฟนอยู่ในตัวเดียวกัน มีให้เลือกหลายชนิดทั้งแบบที่มีสายเชื่อมต่อและแบบไร้สาย ราคาของหูฟังอาจจะมีตั้งแต่ราคาไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและยี่ห้อของบริษัทผู้ผลิตด้วย
โดยปกติทั้งหูฟังและลำโพงจะต่อสัญญาณเสียงแบบอนาล็อก ( analog ) คือสัญญาณเสียงทั่ว ๆ ไปเหมือนในวิทยุหรือโทรทัศน์ จากช่องเสียบสัญญาณที่ซาวด์การ์ดในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีลำโพงและหูฟังบางแบบอาจใช้การต่อสัญญาณเสียงในแบบดิจิตอลจากพอร์ต USB ของเครื่องออกมาแทน แล้วแปลงกลับเป็นเสียงแบบที่เราได้ยินกัน โดยใช้วงจรภายในตัวเอง ซึ่งจะลดเสียงรบกวนจากอุปกรณ์อื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ แต่หูฟังหรือลำโพงแบบนี้ก็จะมีราคาแพงกว่า
อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ( Output Device ) เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจะมีทั้งข้อมูลตัวอักษร, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ( Display device ) เป็นอุปกรณ์สำหรับการแสดงผลในรูปแบบกราฟิกและผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อไฟดับหรือปิดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลงไปจะไม่สามารถเห็นได้อีก บางครั้งนิยมเรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า soft copy นั่นเอง เช่น
เทอร์มินอล ( Terminal ) มักพบเห็นได้กับจุดบริการขาย ( POS-Point Of Sale ) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือจุดให้บริการลูกค้าเพื่อทำรายการบางประเภท เช่น ตู้รายการฝากถอน ATM อัตโนมัติ จอภาพของเทอร์มินอลจะมีขนาดเล็กกว่าจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์
จอซีอาร์ที ( CRT Monitor ) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี การทำงานจะอาศัยหลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าหลอดรังสีคาโธด ( cathode ray tube ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับหลอดภาพของโทรทัศน์ และตัวจอภาพก็มีลักษณะเหมือนกับจอภาพของโทรทัศน์ มีหลายขนาดตั้งแต่ 14,15,16,17,19,20 และ 21 นิ้ว เป็นต้น (แนวโน้มการใช้งานปัจจุบันจะเลือกใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานได้ดีกว่าจอภาพขนาดเล็ก โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้พื้นที่สำหรับทำงานบนจอภาพมาก ๆ เช่น การสร้างภาพกราฟิกหรือการออกแบบงาน 3 มิติ เป็นต้น)
จอแอลซีดี ( LCD Monitor ) เป็นอุปกรณ์แสดงผลอีกแบบหนึ่ง อาศัยการทำงานของโมเลกุลชนิดพิเศษเรียกว่า “ ผลึกเหลว” หรือ liquid crystal ในการแสดงผล (LCD = Liquid Crystal Display ) ซึ่งเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังแต่ละจุดบนจอ ผลึกเหลว ณ จุดนั้นจะมีการบิดตัวของโมเลกุลเป็นองศาที่แตกต่างกัน ทำให้แสงที่ส่องจากด้านหลังจอผ่านได้มากน้อยต่างกัน และเกิดภาพสีต่าง ๆ ขึ้น แต่เดิมนิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ค ปัจจุบันได้นำมาใช้กับเครื่องพีซีทั่วไปบ้างแล้ว เนื่องจากมีขนาดบาง เบาและสะดวกในการเคลื่อนย้ายมากกว่า อีกทั้งยังไม่เปลืองพื้นที่สำหรับการทำงานด้วย แต่ปัจจุบันยังมีราคาที่แพงกว่าจอแบบซีอาร์ทีพอสมควร
โปรเจคเตอร์ ( Projector ) นิยมใช้สำหรับการจัดประชุม สัมมนา หรือการนำเสนอผลงาน ( presentation ) ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมจำนวนมากได้เห็นข้อมูลภาพกราฟิกต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เป็นเหมือนอุปกรณ์ช่วยขยายภาพขนาดเล็กจากจอภาพธรรมดาให้ไปแสดงผลลัพธ์เป็นภาพขนาดใหญ่ที่บริเวณฉากรับภาพ
2. อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน ( Print Device )
เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่แสดงออกมาให้อยู่ในรูปแบบข้อมูล รายงาน รูปภาพ หรือแผนที่ซึ่งสามารถจับต้องหรือเก็บรักษาไว้ได้อย่างถาวร นิยมเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ Hard copy อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการพิมพ์งานมีดังนี้
เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์( Dot matrix Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในองค์กรธุรกิจทั่วไป เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำงานพิมพ์โดยอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ผ้าหมึก( ribbon ) และตัวกระดาษโดยตรงจึงเหมาะสมกับการพิมพ์เอกสารประเภทใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบส่งของ หรือรายการสั่งซื้อที่จำเป็นต้องมีสำเนาเอกสาร(copy ) เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางการบัญชี นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องพิมพ์แบบกระทบ(impact printer ) แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการทำงานที่เป็นสี นอกจากนี้คุณภาพของงาน ความคมชัด และความเร็วยังต่ำกว่าเครื่องพิมพ์แบบอื่นๆ จึงมีความนิยมใช้ลดลง ถึงแม้มีราคาไม่สูงนักก็ตาม
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์( Laser Printer ) ผลลัพธ์ที่ได้จากการพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ซึ่งอาศัยหัวพิมพ์กระทบลงไปในกระดาษเหมือหลักการของเครื่องพิมพ์ดีดนั้น ทำให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ไม่ชัดเจน จึงนิยมใช้เครื่องพิมพ์ประเภทเลเซอร์เข้ามาแทนเนื่องจากมีความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบนี้อาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ฉายลงไปยังหลอดสร้าง( drum ) ภาพที่ได้รับการกระตุ้นของแสง แล้วฉีดผงหมึกเข้าไปยังบริเวณที่มีประจุอยู่(ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารนั่นเอง) จากนั้นให้กระดาษวิ่งมารับผงหมึก แล้วไปผ่านความร้อนเพื่อให้ภาพติดแน่น ข้อดีคือภาพที่ได้มีความละเอียดสูงมาก และความเร็วก็สูง แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนา (copy ) เหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ได้ นอกจากนี้ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องพิมพ์งานสีได้แล้ว โดยใช้ผงหมึก 4 สีผสมกัน ซึ่งราคาเครื่องเริ่มลดลงมากแล้ว แต่ผงหมึกก็ยังแพงอยู่
เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต ( Ink-jet Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีการทำงานโดยอาศัยน้ำหมึกพ่นลงไปบนกระดาษตรงจุดที่ต้องการ และสามารถเลือกใช้ได้ทั้งหมึกสีและขาวดำ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกอาจมีทั้งแบบราคาถูกที่ใช้งานตามบ้านทั่วไปสำหรับพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฏิทิน หรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ หรืออาจพบเห็นได้กับเครื่องพิมพ์ในบางรุ่นที่นิยมใช้กันในงานธุรกิจ เช่น งานพิมพ์โปสเตอร์หรือภาพสีขนาดใหญ่ แต่ก็มีราคาที่แพงตามไปด้วย
พลอตเตอร์ ( Plotter ) เป็นเครื่องพิมพ์เพื่อแสดงผลลัพธ์อีกประเภทหนึ่ง มักใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากและไม่สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องขนาดเล็กได้ การทำงานใช้กลไกบังคับปากกาให้ขีดลงบนกระดาษโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ภาพโฆษณา แผนที่ แผนผัง แบบแปลน เป็นต้น อย่างไรก็ดีอาจพบเห็นเครื่องพลอตเตอร์นี้ค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตได้เข้ามาแทนที่เกือบหมดแล้ว
3. อุปกรณ์ขับเสียง ( Audio Device )
ลำโพง ( Speaker ) ข้อมูลที่เป็นแบบเสียงจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ไปยังจอภาพของคอมพิวเตอร์ได้ แต่จะอาศัยอุปกรณ์แสดงผลเฉพาะที่เรียกว่า ลำโพง ( speaker ) เพื่อช่วยขับเสียงออก ปัจจุบันมีราคาถูกมากตั้งแต่ร้อยกว่าบาทจนถึงหลักพัน นิยมใช้สำหรับการแสดงผลในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน
หูฟัง ( Headphone ) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับฟังข้อมูลประเภทเสียงเช่นเดียวกัน นิยมใช้สำหรับการฟังเสียง เช่น ฟังเพลง หรือเสียงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นแบบส่วนตัว ในบางรุ่นอาจพบได้ทั้งหูฟังและไมโครโฟนอยู่ในตัวเดียวกัน มีให้เลือกหลายชนิดทั้งแบบที่มีสายเชื่อมต่อและแบบไร้สาย ราคาของหูฟังอาจจะมีตั้งแต่ราคาไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและยี่ห้อของบริษัทผู้ผลิตด้วย
โดยปกติทั้งหูฟังและลำโพงจะต่อสัญญาณเสียงแบบอนาล็อก ( analog ) คือสัญญาณเสียงทั่ว ๆ ไปเหมือนในวิทยุหรือโทรทัศน์ จากช่องเสียบสัญญาณที่ซาวด์การ์ดในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีลำโพงและหูฟังบางแบบอาจใช้การต่อสัญญาณเสียงในแบบดิจิตอลจากพอร์ต USB ของเครื่องออกมาแทน แล้วแปลงกลับเป็นเสียงแบบที่เราได้ยินกัน โดยใช้วงจรภายในตัวเอง ซึ่งจะลดเสียงรบกวนจากอุปกรณ์อื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ แต่หูฟังหรือลำโพงแบบนี้ก็จะมีราคาแพงกว่า
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของ pocess
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของ pocess
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักๆดังนี้
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย
หน่วยความจำหลัก(Primary Storage) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)
เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)
เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
เมนบอร์ด (Mainboard, mother board)
เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด" ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ
ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู
ชิปเซ็ต (Chip set)
ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
ระบบบัสและสล็อต
Bios
สัญญาณนาฬิกาของระบบ
ถ่านหรือแบตเตอรี่
ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
ขั้วต่อ IDE
ขั้วต่อ Floppy disk drive
พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
พอร์ต USB
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของ input
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของ input
อุปกรณ์นำเข้า(Input Device)เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลหรือชุดคำสั่งเข้ามายังระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลต่อไปได้ ซึ่งอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง หรือวิดีโอ เป็นต้น อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่พบเห็นได้ในปัจจุบันพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
1. อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device)
1.1 คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่นิยมใช้กันมากที่สุดและพบเห็นในการใช้งานทั่วไป โดยรับข้อมูลป้อนเข้าที่เป็นตัวอักษร อักขระพิเศษ ตัวเลข รวมถึงชุดคำสั่งต่าง ๆ ตัวอุปกรณ์จะมีกลุ่มของแป้นพิมพ์วางเรียงต่อกันเหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีด ผู้ใช้งานสามารถเลือกกดปุ่มใด ๆ ได้ทันที โดยข้อมูลทั้งหมดที่ป้อนเข้ามาจะถูกส่งเข้าไปเก็บยังหน่วยความจำของระบบและแปลงให้เป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน จากนั้นจึงจะนำไปประมวลผลต่อไป ปัจจุบันอาจพบเห็นคีย์บอร์ดประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
(1) คีย์บอร์ดมาตรฐาน ( Standard keyboard ) เป็นคีย์บอร์ดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป มีลักษณะคล้ายกับแป้นพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด โดยปกติจะประกอบด้วยกลุ่มของแป้นพิมพ์หลัก ๆ ดังต่อไปนี้
• แป้นพิมพ์ตัวอักขระ ( alphabetic key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์ซึ่งมีบริเวณใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยแผงอักขระสำหรับการป้อนข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ตัวเลขและอักขระแบบพิเศษทั่วไป
• แป้นสำหรับควบคุมทิศทาง ( cursor-movement key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์และเปลี่ยนจุดหรือบริเวณการทำงาน
• แป้นฟังก์ชัน ( function key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับการเลือกคำสั่งลัดที่มีอยู่ในบางประเภท แป้นเหล่านี้จะอยู่บนแถวแรกสุดของคีย์บอร์ด
• แป้นควบคุม ( control key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับสั่งการบางอย่างร่วมกับปุ่มอื่น ๆ บางครั้งนิยมเรียกว่า modifier keys เช่น Ctrl , Alt , Shift เป็นต้น
• แป้นป้อนข้อมูลตัวเลข ( numeric keypad ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับการป้อนค่าข้อมูลที่เป็นตัวเลขเพื่อช่วยในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การป้อนข้อมูลเพื่อคำนวณหรือหาผลลัพธ์ทางบัญชี
(2) คีย์บอร์ดติดตั้งภายใน ( Built-in keyboard ) เป็นคีย์บอร์ดที่ปรับขนาดของแป้นพิมพ์ให้เล็กลง พบเห็นในการใช้งานกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทพกพา เช่น โน๊ตบุ๊คหรือเดสก์โน๊ต ซึ่งมีพื้นที่ในการใช้งานค่อนข้างจำกัด แป้นพิมพ์นี้จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับการผลิตเครื่องอยู่แล้ว
(3)คีย์บอร์ดเออร์โกโนมิกส์ ( Ergonomic keyboard ) เป็นคีย์บอร์ดที่มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นหลัก เนื่องจากการป้อนข้อมูลเป็นเวลานาน ๆ อาจจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าจากการพิมพ์จนเกิดการบาดเจ็บเนื่องจากเส้นอักเสบได้ จึงมีการออกแบบแป้นพิมพ์ใหม่ เช่น เพิ่มอุปกรณ์สำหรับการวางมือและออกแบบทิศทางสำหรับการจัดวางแป้นพิมพ์ใหม่ให้สัมพันธ์กับสรีระของมนุษย์มากขึ้น ปัจจุบันจะพบเห็นคีย์บอร์ดชนิดนี้เข้ามาแทนที่คีย์บอร์ดมาตรฐานกันมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดปัญหาในเรื่องการบาดเจ็บของข้อมือได้เป็นอย่างดี
(4) คีย์บอร์ดไร้สาย ( Cordless keyboard ) คีย์บอร์ดแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป อาจไม่มีความสะดวกสบายมากพอเมื่อต้องการใช้งานในระยะที่ไกลจากโต๊ะทำงาน อีกทั้งการดึง ย้าย หรือเปลี่ยนที่ของอุปกรณ์ยังทำให้เกิดความยุ่งยาก เนื่องจากตัวสายของคีย์บอร์ดเชื่อมต่ออยู่กับตัวเครื่องตลอดเวลา เมื่อเกิดหลุดก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นเพื่อสร้างคีย์บอร์ดแบบใหม่ที่อาศัยการส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สายขึ้นและทำงานโดยใช้พลังงานแบตเตอรี่แทน ทำให้สามารถย้ายคีย์บอร์ดไปวางยังตำแหน่งใด ๆ ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณนอกเหนือจากโต๊ะทำงานได้
(5)คีย์บอร์ดพกพา ( Portable keyboard ) เมื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องพีดีเอได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น การทำงานบางอย่างที่ต้องอาศัยการป้อนข้อมูลเข้าไป เช่น พิมพ์ข้อความรายงาน จดหมายหรือบันทึกการประชุม จะเกิดความไม่สะดวก เพราะตัวเครื่องมีขนาดเล็ก หากใช้ปากกาช่วยเขียนก็จะทำได้ช้ากว่า จึงมีการสร้างคีย์บอร์ดที่สามารถพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เพียงแค่กางออกมาก็สามารถใช้ได้เหมือนกับคีย์บอร์ดปกติ
(6) คีย์บอร์ดเสมือน ( Virtual keyboard ) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอเช่นเดียวกันกับคีย์บอร์ดพกพา แต่ต่างกันตรงที่มีการจำลองภาพให้เป็นเสมือนคีย์บอร์ดจริง โดยอาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนโต๊ะหรืออุปกรณ์รองรับสัญญาณที่เป็นพื้นผิวเรียบ เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถพิมพ์หรือป้อนข้อมูลที่เห็นเป็นภาพเหมือนแผงแป้นพิมพ์นั้นเข้าไปได้เลย ตัวรับแสงในอุปกรณ์จะตรวจจับได้เองว่าผู้ใช้วางนิ้วไหนไปกดตรงตัวอักษรใด
2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device)
2.1 เมาส์ ( Mouse ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ชี้ตำแหน่งการทำงานรวมถึงสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางคำสั่งที่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยใช้มือเป็นตัวบังคับทิศทางและใช้นิ้วสำหรับการกดเลือกคำสั่งงาน สามารถพบเห็นได้ 2 ประเภท ดังนี้
เมาส์แบบทั่วไป ( Mechanical mouse ) เป็นเมาส์ที่ได้รับการออกแบบโดยใช้ลูกบอลเป็นตัวจับทิศทางที่เมาส์เลื่อนไป ลูกบอลของเมาส์มีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ ทำจากยางกลิ้งอยู่ด้านล่าง ซึ่งจะลากผ่านแผ่นรองเมาส์ ( mouse pad ) และกลไกภายในจะจับได้ว่ามีการเลื่อนไปมากน้อยแค่ไหนและในทิศใด สำหรับส่วนบนจะมีปุ่มให้เลือกกดประมาณ 2-3 ปุ่ม ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต บางแบบอาจมีปุ่มล้อที่หมุน ( scroll ) และกดได้เพื่อควบคุมการทำงานขึ้นลงของสโครลบาร์ในหน้าต่างโปรแกรมบางประเภท
เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์ ( Optical mouse ) การใช้เมาส์แบบทั่วไปที่ใช้ลูกบอล มีข้อเสียคือ เมื่อใช้ไปนาน ๆ ลูกบอลจะกลิ้งผ่านและเก็บเอาฝุ่นละอองเข้าไปด้วย ฝุ่นเหล่านี้จะจับตัวกันหนาขึ้น ส่งผลให้กลไกในการทำงานผิดเพี้ยนไปมาก จึงมีการสร้างเมาส์แบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า เมาส์แบบแสง หรือ ออปติคอลเมาส์ เพื่อใช้แก้ปัญหานี้ เมาส์แบบใหม่นี้ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนแต่ใช้แสงไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง วงจรภายในจะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์และแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้สายและแบบไม่ใช้สาย
2.2 ลูกกลมควบคุม (Track ball) เป็นอุปกรณ์ที่มีหลักการทำงานคล้ายกับเมาส์ โดยมีลูกบอลติดตั้งไว้ส่วนบนเพื่อใช้สำหรับควบคุมทิศทาง เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็คือการย้ายตำแหน่งตัวชี้นั่นเอง ลักษณะของลูกบอลมีขนาดใหญ่กว่าเมาส์มาก ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ติดตั้งแยกต่างหาก เพื่อช่วยให้การทำงานกับคอมพิวเตอร์แบบพกพาสะดวกมากยิ่งขึ้น ในบางรุ่นอาจติดตั้งแทรคบอลอยู่ไว้ภายในด้วย แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว
2.3 แท่งชี้ควบคุมหรือพอยติงสติ๊ก ( Pointing stick ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชี้ตำแหน่งข้อมูลเช่นเดียวกัน มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายกับยางลบดินสอ จะติดตั้งอยู่ตรงส่วนกลางของแป้นพิมพ์ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา การควบคุมทิศทางของตัวชี้จะใช้นิ้วมือเป็นตัวบังคับเพื่อเลื่อนทำงานเช่นเดียวกัน โดยเมื่อดันให้แท่งนี้โยกไปทิศทางใด ลูกศรบนจอก็จะเลื่อนไปในทิศทางนั้น
2.4 จอยสติ๊ก ( Joystick ) เป็นอุปกรณ์ที่พบเห็นได้กับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเกมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้เมาส์เพื่อบังคับทิศทางนั้นอาจไม่รองรับกับรูปแบบของบางเกมได้ จึงนำเอาจอยสติ๊กมาใช้แทน เช่น การบังคับทิศทางซ้าย ขวา หน้า หลัง หรือบังคับทิศทางในระดับองศาที่แตกต่างกันในการควบคุมอากาศยานหรือท่าต่อสู้ของตัวละคร ซึ่งทำให้เกมมีความสมจริงมากกว่าการใช้เมาส์นั่นเอง
2.5 แผ่นรองสัมผัสหรือทัชแพด ( Touch pad ) เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบาง ๆ ติดตั้งไว้อยู่ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา เพื่อใช้ทำงานแทนเมาส์ เมื่อกดสัมผัสหรือใช้นิ้วลากผ่านบริเวณดังกล่าวก็สามารถทำงานแทนกันได้ โดยมากจะติดตั้งไว้บริเวณด้านล่างของแป้นพิมพ์
2.6 จอสัมผัสหรือทัชสกรีน ( Touch screen ) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้นิ้วมือแตะบังคับหรือสั่งการไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เมาส์หรือแป้นพิมพ์ มักพบเห็นได้ตามตู้ให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว ตู้ ATM บางธนาคาร เครื่องออกบัตรโดยสาร รถไฟฟ้า หรือพบเห็นในตู้เกมบางประเภท เช่น เกมประเภทจับผิดภาพ เกมประเภททำนายดวงชะตา เป็นต้น
2.7 พวงมาลัยพังคับทิศทาง (Wheel) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับการเล่นเกมเหมือนกับจอยสติ๊ก พบเห็นได้กับเกมจำลองประเภทแข่งรถหรือควบคุมทิศทางของยานพาหนะ มีลักษณะเหมือนกับพวงมาลัยบังคับทิศทางในรถยนต์จริง เพื่อให้เกมจำลองนั้น ๆ มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น อาจมีการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เหยียบเบรกจำลอง ( pedal ) และตัวเร่งความเร็วจำลอง ( accelerator ) ด้วย
3. ประเภทปากกา ( Pen-Based Device )
3.1 ปากกาแสง ( Light pen ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการกำหนดตำแหน่งบนจอภาพรวมถึงการป้อนข้อมูลเข้าแทนแป้นพิมพ์ เอามาใช้เขียนหรือวางตำแหน่งบนจอภาพคอมพิวเตอร์ประเภทที่ใช้หลอดภาพหรือ CRT ได้เลย มักใช้ร่วมกับโปรแกรมประเภทช่วยการออกแบบหรือ CAD (computer aided design) เพื่อให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถลากหรือวาดทิศทางได้ง่าย แต่มีความละเอียดแม่นยำไม่สูงนัก เพราะถูกจำกัดด้วยความละเอียดของจอภาพ ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง
3.2 ดิจิไทเซอร์ ( Digitizer ) หรืออุปกรณ์อ่านพิกัด มักใช้ร่วมกับอุปกรณ์ประเภทปากกาหรือในงานความละเอียดสูงจะใช้กับหัวอ่านที่เป็นกากบาทเส้นบาง ( crosshair ) เพื่อให้ชี้ตำแหน่งโดยละเอียด ทำหน้าที่เป็นเสมือนกระดานรองรับการเขียนข้อความ วาดภาพหรือออกแบบงานที่เกี่ยวกับกราฟิกเป็นหลัก ทำให้มีความคล่องตัวและสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
3.3 สไตลัส ( Stylus ) เป็นอุปกรณ์ประเภทปากกาป้อนข้อมูลชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ แท็บเล็ตพีซี หรืออาจพบเห็นในสมาร์ทโฟนบางรุ่น ผลิตมาเพื่อใช้เขียนหนังสือด้วยลายมือหรือวาดเส้นลงบนหน้าจออุปกรณ์ได้โดยตรง ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่อำนวยความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยจะทำหน้าที่แปลงรหัสในการเขียน (ที่คล้ายจดชวเลขในสมัยก่อน) ไปเป็นตัวอักษรที่คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลและใช้งานต่อได้ทันที เช่น นำไปจัดเก็บในสมุดรายชื่อ หรือเก็บบันทึกข้อความที่เขียนไว้เป็นไฟล์เพื่อเรียกใช้งานต่อไป
4. ประเภทข้อมูลมัลติมีเดีย ( Multimedia Input Device)
4.1 ไมโครโฟน ( Microphone ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทเสียงพูด ( Voice ) เข้าสู่ระบบ ใช้บันทึกหรืออัดข้อมูลเสียงในสตูดิโอหรือตามบ้านทั่วไป การทำงานจะใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย นอกจากนี้ไมโครโฟนยังสามารถใช้ร่วมกับระบบจดจำเสียงพูดหรือ voice recognition (แต่ในขณะนี้ยังไม่สนับสนุนเสียงภาษาไทย) เพื่อทำงานบางอย่างได้ เช่น ใช้เสียงพูดผ่านไมโครโฟนเข้าไปแทนการพิมพ์ข้อมูลรายงานได้เลย โดยที่คอมพิวเตอร์จะทำการแปลงความหมายและประมวลผลผ่านเสียงที่ผ่านเข้ามาเป็นตัวอักษรโดยอัตโนมัติ เป็นต้น
4.2 กล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล ( Digital Video camera ) เรียกย่อ ๆ ว่ากล้องประเภท DV ซึ่งเป็นกล้องวิดีโอแบบดิจิตอลนั่นเอง กล้องประเภทนี้สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวและบันทึกเก็บหรือโอนถ่ายลงคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน แต่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่พอสมควร โดยมากจะบันทึกลงเทปขนาดเล็กในรูปแบบดิจิตอลก่อน (บางรุ่นอาจลงแผ่น CD-R หรือ DVD-R ที่บันทึกได้แทน) จากนั้นจะถ่ายโอนวิดีโอไปลงคอมพิวเตอร์ หรือจะเรียกดูภายหลังจากในกล้องก็ได้
4.3 กล้องถ่ายรูปดิจิตอล ( Digital camera ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทภาพถ่ายดิจิตอล ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาของกล้องประเภทนี้ถูกลงและสามารถบันทึกเก็บหรือถ่ายโอนลงคอมพิวเตอร์ได้โดยง่าย อีกทั้งภาพถ่ายที่ได้ในกล้องบางรุ่นยังมีความละเอียด ความคมชัดเทียบเคียงหรือมากกว่ากล้องธรรมดาบางรุ่น หรือหากจะนำไปอัดขยายต่อเป็นภาพถ่ายปกติก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
4.4 เว็บแคม ( Web cam ) เป็นกล้องถ่ายวิดีโออีกประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวเช่นเดียวกัน แต่ภาพที่ได้จะหยาบและมีขนาดไฟล์เล็กกว่ากล้องแบบ DV มาก จึงนิยมใช้สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลลงบนอินเทอร์เน็ตหรือนำไปใช้ประโยชน์กับโปรแกรมสนทนาบนเว็บบางประเภท เพื่อให้เห็นหน้าตาของคู่สนทนาระหว่างที่พิมพ์โต้ตอบกัน ปัจจุบันเว็บแคมมีราคาถูกลงอย่างมาก และยังสามารถบันทึกได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งด้วย
5. ประเภทสแกนและอ่านข้อมูลด้วยแสง(Scanner and Optical Reader)
5.1 สแกนเนอร์ ( Scanner ) เป็นอุปกรณ์อ่านข้อมูลประเภทภาพถ่าย โดยผู้ใช้เพียงแค่วางภาพถ่ายหรือเอกสารลงไปบนแท่นวางแล้วสั่งให้เครื่องอ่านหรือสแกน ก็สามารถเก็บรูปภาพหรือเอกสารสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้นไว้ในคอมพิวเตอร์ได้ หลักการทำงานจะเหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสารคือ ใช้ลำแสงกวาดแผ่นกระดาษหรือเอกสารนั้น แล้วส่งภาพเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลและเรียกใช้ต่อไป
5.2 โอเอ็มอาร์ ( OMR – Optical Mark Reader ) เป็นเครื่องที่นำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การสอบเอ็นทรานซ์ การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ การสอบเข้ารับราชการของสำนักงาน ก.พ. โดยจะอ่านเครื่องหมาย ( Mark ) ที่ผู้เข้าสอบได้ระบายไว้ในกระดาษคำตอบ ซึ่งโดยปกติจะต้องใช้ดินสอที่มีความเข้มมากพอที่จะให้เครื่องอ่านได้ (ปกติจะอยู่ที่ความเข้มระดับ 2 B ขึ้นไป) หากใช้ดินสอที่มีความเข้มต่ำกว่าระดับที่กำหนด อาจทำให้เครื่องไม่สามารถอ่านได้ชัดเจน
5.3 เครื่องอ่านบาร์โค้ด ( Bar code reader ) ตัวเลขของรหัสสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลังจะมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์จะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย (เช่น ป้อนตัวเลขผิด) จึงเกิดแนวความคิดในการพิมพ์รหัสสินค้าออกมาเป็นรหัสแท่งสีดำและขาวต่อเนื่องกันไปเรียกว่า บาร์โค้ด ( bar code ) ซึ่งนำไปใช้พิมพ์แทนรหัสตัวเลขของสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกต่อการตรวจเช็คข้อมูลสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเอง เครื่องที่อ่านรหัสนี้เราเรียกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด ( bar code reader ) มีหลายรูปแบบ เช่น หัวอ่านมีด้ามจับคล้ายปืน หรือบางแบบก็ฝังในแท่นของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย ( POS – Point Of Sale ) ในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป
5.4 เอ็มไอซีอาร์ ( MICR – Magnetic-Ink Character Recognition ) เรียกย่อ ๆ ว่าเครื่อง เอ็มไอซีอาร์ ( MICR – Magnetic-Ink Character Recognition ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านตัวอักษรด้วยแสงของเอกสารสำคัญ เช่น เช็คธนาคาร ซึ่งมีการพิมพ์หมายเลขเช็คด้วยผงหมึกสารแม่เหล็ก ( magnetic ink ) เป็นแบบอักษรเฉพาะ มีลักษณะเป็นลายเส้นเหลี่ยม (ดังรูป) พบเห็นได้ในการประมวลผลเช็คสำหรับธุรกิจด้านธนาคาร
6. ประเภทตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพ ( Biometric Input Device )
ไบโอเมตริกส์ ( biometric ) เป็นลักษณะของการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวบุคคลเฉพาะอย่าง เช่น ลายนิ้วมือ รูปแบบของม่านตา (เรตินา - ratina ) ฝ่ามือ หรือแม้กระทั่งเสียงพูด ซึ่งนำมาใช้กับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัยในหน่วยงานที่ต้องการความปลอดภัยในระดับสูง เนื่องจากระบบการตรวจสอบประเภทนี้จะปลอมแปลงได้ยาก เครื่องที่ใช้อ่านข้อมูลพวกนี้จะมีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะการตรวจสอบ เช่น เครื่องอ่านลายนิ้วมือ เครื่องตรวจม่านตา เครื่องวิเคราะห์เสียงพูด เป็นต้น
วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
1. จอภาพ (Monitor)
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้
ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
- จอซีอาร์ที (CRT
: Cathode Ray Tube) โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งลักษณะ
จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ
จอแบบ CRT
การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ
ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ
ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว
ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ
ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น
จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง
และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ
สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่
ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง
เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น
สำหรับจอ Trinitron
ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
- จอแอลซีดี (LCD
: Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที
จอแบบ LCD
การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว
ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก
การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ
บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด
ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ
CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า
จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต
ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก
ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ
ราคาในปัจจุบัน
2. เคส (Case)
เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน
การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน
แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น
เคส (case)
3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์
ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ
จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
Power Supply
4. คีย์บอร์ด (Keyboard)
เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์
ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น
ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน
(Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose
keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น
ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ
อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
Keyboard
5. เมาส์ (Mouse)
อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด
เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์
แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด
Mouse
6. เมนบอร์ด (Main board)
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน
ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด
มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี
ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง
การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ
เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน
ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
Mainboard
7. ซีพียู (CPU)
ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor)
หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์
เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน
หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic
& Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ
ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร
อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ
ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง
ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์
เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้
2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon
2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon
CPU
8. การ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู
โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด
ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู
จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย
ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก
ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น
ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
Display Card
หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
9. แรม (RAM)
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access
Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน
โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
SDRAM
DDR-RAM
RDRAM
โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM
10. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ
ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก
เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง
พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด
โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์
แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี
สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน
- IDE (Integrated Drive Electronics)
เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด
- IDE (Integrated Drive Electronics)
เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด
Harddisk แบบ IDE
IDE Cable
- SCSI (Small Computer System Interface)
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง
Harddisk แบบ SCSI
SCSI controller
- Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน
เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน
Harddisk แบบ Serial ATA
Serial ATA Cable
11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW
เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม
ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW
หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น
X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk
CD-ROM
การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์
แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์
ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น
เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า
ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์
ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม
จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้
โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น
หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์"
สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต"
ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0
แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ
แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที
ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน
โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง
บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น
ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก
บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8
นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว
จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว
ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ
Floppy Disk Drive
ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ
เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ
แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี
การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว
ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง
120 เมกะไบต์ต่อแผ่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ
หน่วยความจำ (Memory Unit) หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโ...
-
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของ pocess อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักๆดังนี้ ...
-
คอมพิวเตอร์คืออะไร คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อสังคมของมนุษย์เราในปัจจุบัน แทบทุกวงการล้วนนำคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องกั...
-
1. จอภาพ ( Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะ...